เมนู

บทว่า ปรมทิฏฺฐธมฺมนิพฺพานํ แปลว่า นิพพานอันยอดยิ่งในอัตภาพ
นี้นี่แล. บทว่า อนุปาทาวิโมกฺโข ได้แก่ ความหลุดพ้นแห่งจิต เพราะ
ไม่ยึดมั่นด้วยอุปาทาน 4. คำนี้เป็นชื่อของพระอรหัต. บทว่า ปริญฺญํ
ได้แก่ การก้าวล่วง. ในคำนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติการ
กำหนดรู้กามทั้งหลายด้วยปฐมฌาน ทรงบัญญัติการกำหนดรู้รูปทั้ง-
หลาย ด้วยอรูปาวจรฌานทั้งหลาย ทรงบัญญัติการกำหนดรู้เวทนาทั้งหลาย
ด้วยอนุปาทาปรินิพพาน. ก็พระนิพพาน ชื่อว่ากำหนดรู้เวทนาทั้งหลาย
เพราะละเวทนาได้หมด. บทว่า อนุปาทาปรินิพฺพานํ ได้แก่ อปัจจยปริ-
นิพพาน นิพพานที่หาปัจจัยมิได้. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อตรัสพระ-
สูตรนี้ ทรงเห็นภิกษุ 500 รูป อยากสึก จึงตรัสเพื่อบรรเทาความอยาก
สึกของภิกษุเหล่านั้น. ภิกษุแม้เหล่านั้น บรรเทาความอยากสึกได้แล้ว
ชำระญาณตามกระแสเทศนา ก็เป็นโสดาบัน ต่อมา เจริญวิปัสสนา ก็
บรรลุพระอรหัตแล.
จบอรรถกถาปฐมโกสลสูตรที่ 9

10. ทุติยโกสลสูตร


ว่าด้วยพระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงนอบน้อมต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า


[30] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหาร
เชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็โดย
สมัยนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จกลับจากการรบชนะสงครามมาแล้ว
มีพระราชประสงค์อันได้แล้ว ครั้งนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลได้เสด็จ